Monday, July 21, 2008
Tae Tid Too
Tae Tid Too resembles the vigorous sounds created by all sorts of blowing. The group, comprising of of skillful woodwind and brass musicians who love traditional Traewong culture. The band plays all kinds of music, ranging from ritual to modern entertainment.
เกี่ยวกับวงแต้ติ๊ดตู๋
วงแต้ติ๊ดตู๋ก่อตั้งขึ้นในปี พศ. 2535 จากการรวมตัวกันของกลุ่มนักดนตรีเครื่องเป่าไม้และเครื่องเป่าทองเหลืองฝีมือดีที่มีใจรักในดนตรีแบบแตรวง นำโดย อ.สมนึก แสงอรุณ โดยได้บรรเลงครั้งแรก ณ โถงหน้าหอใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงแต้ติ๊ดตู๋บรรเลงเพลงได้หลากแนวตั้งแต่เพลงพื้นบ้าน เพลงร่วมสมัย จนถึงเพลงตามแบบฉบับประเพณีดั้งเดิม
The Pai Lai Angklung Ensemble
Pai Lai is a group of highly skilled musicians from various professions,who have been playing and creating music together for more than a decade . Most of the members are trained as Piphat musicians, thus their skill can be adapted to rowed-angklung for stunningly swift playing.
วงอังกะลุงคณะไผ่ลาย
เกิดจากการรวมตัวกันของผู้มีฝีมือและรักในดนตรี เพื่อร่วมบรรเลงและสร้างสรรค์บทเพลงกันมานับสิบปี สมาชิกส่วนใหญ่จะมีฝีมือทางด้านปี่พาทย์ ดังนั้นเมื่อนำมาปรับบรรเลงกับเครื่องดนตรีอังกะลุงราวของทางวง จะทำให้สามารถบรรเลงได้อย่างแคล่วคล่องรวดเร็ว วงอังกะลุงคณะไผ่ลายไม่ได้เล่นเป็นวงที่เล่นเป็นอาชีพแต่มักออกเล่นเพื่อช่วยงานบุญในโอกาสต่างๆ
วงอังกะลุงคณะไผ่ลาย
เกิดจากการรวมตัวกันของผู้มีฝีมือและรักในดนตรี เพื่อร่วมบรรเลงและสร้างสรรค์บทเพลงกันมานับสิบปี สมาชิกส่วนใหญ่จะมีฝีมือทางด้านปี่พาทย์ ดังนั้นเมื่อนำมาปรับบรรเลงกับเครื่องดนตรีอังกะลุงราวของทางวง จะทำให้สามารถบรรเลงได้อย่างแคล่วคล่องรวดเร็ว วงอังกะลุงคณะไผ่ลายไม่ได้เล่นเป็นวงที่เล่นเป็นอาชีพแต่มักออกเล่นเพื่อช่วยงานบุญในโอกาสต่างๆ
About Bangkok Bamboo
Row Angkalung
Each traditional Angkalung (pitched bamboo-shaker) can play only a single note. A person can play one Angkalung with each hand that mean only two notes at a time. Putting multiple pitches angkalung together in row make it possible for a person to play in scale.
Tuned in classical Thai tuning system, each row angkalung can substitute each Piphat ensemble’s instrument such as ranat-ek, ranat-thum khongwong-yai and khong-wong-lek.
Row angkalung has mechanism that allow it to played with keys.Playing with keyboard instead of shaking each angkalung by hand make it much faster. A specially large-sized row angkalung is created to extend the bass range of the ensemble.
Row angkalung is an evolution to traditional Angkalung music. The voice of angkalung can now be played with greater speed, complexity and range that was never possible.
อังกะลุงราว
ครูเฉลิม บัวทั่ง ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) เป็นผู้คิดที่จะประดิษฐ์อังกะลุงราวขึ้นเพื่อนำมาบรรเลงดนตรีไทย หากแต่หลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว ครูพีรศิษย์ (พัฒน์) บัวทั่ง ผู้เป็นบุตรจึงได้พัฒนาต่อจนสำเร็จ
อังกะลุงแบบเดิมนั้นใช้เขย่าด้วยมือ หนึ่งชิ้นเล่นได้หนึ่งเสียง คนหนึ่งเล่นได้เพียงสองชิ้นสองเสียงในเวลาเดียวกัน เมื่อนำมาพัฒนาเรียงเข้าด้วยกันเป็นราวทำให้สามารถเล่นเป็นบันไดเสียง ซึ่งสามารถเลียนเสียงของเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ เล็ก นอกจากนี้ยังได้ประกอบกับลิ่มคล้ายคีย์เปียโนเพื่อใช้ในการเขย่าและเพิ่มอังกะลุงขนาดใหญ่เพื่อสร้างเสียงตำ่ขึ้นมาเพิ่มเติมอีกด้วย
อังกะลุงราวเป็นการพัฒนาซึ่งเพิ่มศักยภาพของเครื่องดนตรีอังกะลุงทั้งความกว้างของย่านเสียง ความรวดเร็วและซับซ้อนในการบรรเลง สร้างมิติใหม่ให้แก่เสียงดนตรีอังกะลุงไทยดังไม่เคยปรากฏมาก่อน
Mahori Boraan: track list
Malaengphoo Thong แมลงภู่ทอง (8.27)
“Malaengphoo Thong” means a golden bee. The song is composed by anonymous who used rhapsodic Songmai idiom as the fundamental of freely melodic structure. Song text is originated from the famous Ayutthaya folk tale Khun Chang Khun Phan describes the harsh argument of reunited lovers at late night.
เพลงแมลงภู่ทองเป็นเพลงเก่า ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์ ใช้อัตราหน้าทับสองไม้ จังหวะปานกลาง เป็นเพลงที่ใช้แสดงความสามารถของนักร้องเพลงในท่อนด้นทางร้องอิสระในเชิงต่อว่าต่อขานคารม เนื้อร้องที่นิยมนำมาใช้ขับร้องเข้าใจว่าได้ต้นเค้ามาจากวรรณคดีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนจะพานางวันทองลงจากเรือน แต่ปรุงแต่งถ้อยคำให้เหมาะกับการร้องอิสระขึ้นจากโครงสร้างกลอนสัมผัสแบบเดิม
Khamwan คำหวาน (7.33)
The title means sweet words, which is much appropriate to the holistic feeling of the composition, song text, and performance interpretations. Tuneful Saw Samsai well parallels with vocal ornamentation techniques consequently reasoning in the motivating harmony.
คำหวานเป็นเพลงมโหรีต้นแบบที่นิยมมาแต่ครั้งกรุงเก่า รวมอยู่ในตับเรื่องนางไห้ มีท่วงทำนองอ่อนหวานไพเราะ ใช้หน้าทับพระทองตีกำกับ เนื้อร้องมีลักษณะของกลอนเพลงกล่อมเด็กซึ่งเป็นพัฒนาการดั้งเดิมของกวีนิพนธ์ในสมัยโบราณ การขับร้องมีการใช้ซอสามสายคลอ รับร้องด้วยวงมโหรีโบราณประสมระนาดแก้วเสียงสดใสไพเราะ
Leelakrathoom ลีลากระทุ่ม (4.46)
The singer brings old song text that used for paying worship to Mahoree music gods and commences the opening performance. The same melody also can be found in royal court theatre Lakon Nai.
เพลงลีลากระทุ่มเป็นเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งในในนำไปบรรจุเป็นทำนองร้องสำหรับบทมโหรีและละครของหลวง ทำนองเพลงโอ่อ่าสง่างาม อัตราจังหวะสองชั้น ใช้หน้าทับปรบไก่ตีกำกับ เนื้อร้องที่นำมาร้องนี้เป็นร่องรอยสำคัญในวัฒนธรรมการไหว้ครูตำรามโหรีโบราณ ปรากฏคำประพันธ์ที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันในเพลงยาวไหว้ครูมโหรีโบราณ รวมทั้งวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ที่ระบุคำว่ามโหรีเอาไว้ เช่น อิเหนา พระอภัยมณี เป็นต้น
Bulanloylern บุหลันลอยเลื่อน (11.26)
The song features advance solo techniques of the fiddle Saw Samsai. There was a legend believed that this song was composed from a mysterious dream of King Rama II, Somdej Phra Phuttalertlahnapalai of Chakkri dynasty who ruled Thailand in early Bangkok period 18th century. The King was regarded as great artist who has deep knowledge in all aspects of art including music, and Saw Samsai was his best musical instrument. At one night his majesty played Saw Samsai and fell asleep, and then the vivid moon appeared into his dream together with such beautiful sounds of music. When the king woke up, the music still well remembered in his ears. So he passed on this melody to his court musicians and named the song title as “Bulanloylern” which means the floating moon. Song text came from his majesty’s adaptation of old Javanese Panji story which later called as Inao in Thailand.
The Saw Samsai version in this recording combines the original theme with a new arrangement of H.R.H. Prince Paripatra who wrote Bulanloylern into a brass band variation for national anthem.
บทเพลงบุหลันลอยเลื่อน เชื่อว่าเป็นงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นอัจฉริยศิลปินในศิลปะทุกแขนงรวมทั้งดนตรีไทย และยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการบรรเลงซอสามสาย คืนหนึ่งเมื่อทรงดนตรีแล้วเข้าที่บรรทม ทรงพระสุบินนิมิตเห็นดวงจันทร์ทอแสงสุกสกาวลอยเข้ามาใกล้และมีเสียงเพลงไพเราะล่องลอยมาจากดวงจันทร์นั้น เมื่อตื่นพระบรรทม ก็ยังทรงจดจำทำนองเพลงนั้นได้เป็นอย่างดี จึงโปรดให้พนักงานมโหรีหลวงต่อเพลงนี้เอาไว้ และจดจำกันสืบต่อมา เรียกชื่อเพลงแต่เดิมว่า “ทรงพระสุบิน” หรือ “สรรเสริญพระบารมีทางไทย” ต่อมาเมื่อนำบทกลอนจากพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาตอนสังคามาระตาแต่งถ้ำมาใช้เป็นบทขับร้องเฉพาะ จึงเรียกว่า “บุหลันลอยเลื่อน” ทำนองเพลงนี้มีความงามวิจิตร นิยมใช้บรรเลงอวดฝีมือซอสามสาย ทางที่บรรเลงครั้งนี้ได้ผนวกกับทำนองพิเศษที่สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ทางฝรั่งในชื่อ “สรรเสริญเสือป่า”เพิ่มเติมเอาไว้ด้วย
Khabmaibandoh ขับไม้บัณเฑาะว์ (7.16)
This special track illustrates the prototype of Mahoree as found in archeological evidences. The musical style dated back to Sukothai period (around 13th century) when only Saw Samsai and the double-faced hour-glass drum Bandoh were used to formulate the Khabmai ensemble. This unique ensemble was designed by the royal aristocrat hindu Bhramin for special royal ceremonies such as welcoming to the new birth of a crown prince, the honoring ritual of a new royal white elephant and the honoring ritual for the new-built royal umbrella. The Bhramin would recite holy mantra and give philosophical words to the subject along with the overflow sounds of Saw Samsai and continually drone beats of Bandoh. Nowadays the enchanted song theme still remains its popularity and can be heard through many other kind of ensembles, include contemporary music.
ขับไม้บัณเฑาะว์ เป็นตัวอย่างของเสียงเพลงจากวงดนตรีต้นแบบมโหรีที่เรียกว่าวงขับไม้ อันประกอบด้วยเครื่องดนตรีทำนองหลักคือซอสามสายกับเครื่องจังหวะหลักคือกลองบัณเฑาะว์ ซึ่งเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในราชสำนักสมัยกรุงสุโขทัยสืบต่อเนื่องมาจนถึงราชสำนักปัจจุบัน มีบทบาทหน้าเพื่อรับใช้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับคตินิยมทางลัทธิพราหมณ์ อาทิ พระราชพิธีสมโภชพระอู่ พระราชพิธีขึ้นระวางช้างต้น พระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตรฉัตร โดยวงขับไม้จะบรรเลงประกอบการอ่านฉันท์สดุดีสังเวยหรือขับลำนำของพราหมณ์ ซอสามสายจะสีทำนองลำลองไปกับเสียงลำนำสวด ในขณะที่บันเฑาะว์จะไกวเป็นจังหวะลอยอยู่ท่ามกลางทำนองเพลง ให้ความรู้สึกสมาธิบนภวังค์เสียงที่เกิดขึ้น
ทำนองเพลงขับไม้บัณเฑาะว์มีความสง่างาม เป็นทำนองที่คุ้นหูผู้ฟังโดยทั่วไปนิยมนำไปบรรเลงโดยวงดนตรีประเภทต่างๆตลอดจนใช้ประกอบสื่อสมัยใหม่ สำหรับการบรรเลงซอสามสาย มักนิยมใช้เพลงขับไม้บัณเฑาะว์เป็นเพลงเริ่มต้นการศึกษาเรียนรู้เช่นกัน ด้วยว่ามีแบบแผนคันชักและการประสานเสียงต่างๆที่นำมาพัฒนาสู่การเรียนระดับสูงขึ้นได้ในกาลต่อไป
Salikachomduen สาลิกาชมเดือน (2.41)
The song title means the admiration of Salika bird to the moonlight. This is a showpiece musical counterpart using a contrast in slow-sweet-sadness emotion and in fast-complex-joyful emotion based on the same hidden theme. This special version of Khlui solo was composed by Master Tiep Konglaithong. Much of advance Khlui playing techniques can be observed throughout this short song such as circular breathing, alternative fingerings, twirling grace notes and other ornamentations.
เพลงสาลิกาชมเดือนเป็นเพลงมโหรีปี่พาทย์สำนวนใหม่กว่ากลุ่มมโหรีกรุงศรีอยุธยา ไม่ทราบชื่อผู้ประพันธ์ เป็นเพลงท่อนเดียว อัตราจังหวะหน้าทับปรบไก่ ทำนองที่บรรเลงด้วยขลุ่ยนี้เป็นสำนวนทางเดี่ยวที่เรียบเรียงโดยครูเทียบ คงลายทอง ปรมาจารย์เครื่องเป่าคนสำคัญของกรมศิลปากร โดยแบ่งเป็นทำนองหวานเศร้าช้าโหยหวนในช่วงต้น (เรียกว่าเที่ยวหวาน) และพลิกผันมาเป็นเร็วสนุกใช้วรรคกลอนทำนองเพลงที่สลับซับซ้อนในช่วงหลัง (เรียกว่าเที่ยวเก็บ)
Brahmkhaobot พราหมณ์เข้าโบสถ์ (2.38)
The song title describes Hindu priest (Brahmana) walks into holy shrine. Musical mood hence reveals in peacefulness and meditative ambience. Here the Krajappi lute plays solo part at the first half as question which answered back from the whole orchestra in the second half.
ชื่อเพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์หรือพราหมณ์เดินเข้ายังอุโบสถ ปรากฏในเอกสารเพลงยาวตำรามโหรี โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชำระไว้ในหนังสือประชุมบทมโหรี พ.ศ. ๒๔๖๓ กล่าวว่าเป็นเพลงหนึ่งในเพลงตับสำหรับไหว้ครูข้างเช้า (ซึ่งมีเพลงอื่นรวมอยู่ด้วยอีก ๖ เพลง) มีท่วงทำนองสงบสำรวม ในการบันทึกเสียงครั้งนี้นำกระจับปี่ซึ่งเป็นตัวแทนวงบรรเลงพิณอันเป็นต้นเค้าอีกสายหนึ่งของพัฒนาการมโหรีมาใช้เป็นเสียงเดี่ยวในท่อนต้น บรรเลงรับด้วยวงมโหรีเครื่องสี่ในท่อนกลับ
“Malaengphoo Thong” means a golden bee. The song is composed by anonymous who used rhapsodic Songmai idiom as the fundamental of freely melodic structure. Song text is originated from the famous Ayutthaya folk tale Khun Chang Khun Phan describes the harsh argument of reunited lovers at late night.
เพลงแมลงภู่ทองเป็นเพลงเก่า ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์ ใช้อัตราหน้าทับสองไม้ จังหวะปานกลาง เป็นเพลงที่ใช้แสดงความสามารถของนักร้องเพลงในท่อนด้นทางร้องอิสระในเชิงต่อว่าต่อขานคารม เนื้อร้องที่นิยมนำมาใช้ขับร้องเข้าใจว่าได้ต้นเค้ามาจากวรรณคดีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนจะพานางวันทองลงจากเรือน แต่ปรุงแต่งถ้อยคำให้เหมาะกับการร้องอิสระขึ้นจากโครงสร้างกลอนสัมผัสแบบเดิม
Khamwan คำหวาน (7.33)
The title means sweet words, which is much appropriate to the holistic feeling of the composition, song text, and performance interpretations. Tuneful Saw Samsai well parallels with vocal ornamentation techniques consequently reasoning in the motivating harmony.
คำหวานเป็นเพลงมโหรีต้นแบบที่นิยมมาแต่ครั้งกรุงเก่า รวมอยู่ในตับเรื่องนางไห้ มีท่วงทำนองอ่อนหวานไพเราะ ใช้หน้าทับพระทองตีกำกับ เนื้อร้องมีลักษณะของกลอนเพลงกล่อมเด็กซึ่งเป็นพัฒนาการดั้งเดิมของกวีนิพนธ์ในสมัยโบราณ การขับร้องมีการใช้ซอสามสายคลอ รับร้องด้วยวงมโหรีโบราณประสมระนาดแก้วเสียงสดใสไพเราะ
Leelakrathoom ลีลากระทุ่ม (4.46)
The singer brings old song text that used for paying worship to Mahoree music gods and commences the opening performance. The same melody also can be found in royal court theatre Lakon Nai.
เพลงลีลากระทุ่มเป็นเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งในในนำไปบรรจุเป็นทำนองร้องสำหรับบทมโหรีและละครของหลวง ทำนองเพลงโอ่อ่าสง่างาม อัตราจังหวะสองชั้น ใช้หน้าทับปรบไก่ตีกำกับ เนื้อร้องที่นำมาร้องนี้เป็นร่องรอยสำคัญในวัฒนธรรมการไหว้ครูตำรามโหรีโบราณ ปรากฏคำประพันธ์ที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันในเพลงยาวไหว้ครูมโหรีโบราณ รวมทั้งวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ที่ระบุคำว่ามโหรีเอาไว้ เช่น อิเหนา พระอภัยมณี เป็นต้น
Bulanloylern บุหลันลอยเลื่อน (11.26)
The song features advance solo techniques of the fiddle Saw Samsai. There was a legend believed that this song was composed from a mysterious dream of King Rama II, Somdej Phra Phuttalertlahnapalai of Chakkri dynasty who ruled Thailand in early Bangkok period 18th century. The King was regarded as great artist who has deep knowledge in all aspects of art including music, and Saw Samsai was his best musical instrument. At one night his majesty played Saw Samsai and fell asleep, and then the vivid moon appeared into his dream together with such beautiful sounds of music. When the king woke up, the music still well remembered in his ears. So he passed on this melody to his court musicians and named the song title as “Bulanloylern” which means the floating moon. Song text came from his majesty’s adaptation of old Javanese Panji story which later called as Inao in Thailand.
The Saw Samsai version in this recording combines the original theme with a new arrangement of H.R.H. Prince Paripatra who wrote Bulanloylern into a brass band variation for national anthem.
บทเพลงบุหลันลอยเลื่อน เชื่อว่าเป็นงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นอัจฉริยศิลปินในศิลปะทุกแขนงรวมทั้งดนตรีไทย และยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการบรรเลงซอสามสาย คืนหนึ่งเมื่อทรงดนตรีแล้วเข้าที่บรรทม ทรงพระสุบินนิมิตเห็นดวงจันทร์ทอแสงสุกสกาวลอยเข้ามาใกล้และมีเสียงเพลงไพเราะล่องลอยมาจากดวงจันทร์นั้น เมื่อตื่นพระบรรทม ก็ยังทรงจดจำทำนองเพลงนั้นได้เป็นอย่างดี จึงโปรดให้พนักงานมโหรีหลวงต่อเพลงนี้เอาไว้ และจดจำกันสืบต่อมา เรียกชื่อเพลงแต่เดิมว่า “ทรงพระสุบิน” หรือ “สรรเสริญพระบารมีทางไทย” ต่อมาเมื่อนำบทกลอนจากพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาตอนสังคามาระตาแต่งถ้ำมาใช้เป็นบทขับร้องเฉพาะ จึงเรียกว่า “บุหลันลอยเลื่อน” ทำนองเพลงนี้มีความงามวิจิตร นิยมใช้บรรเลงอวดฝีมือซอสามสาย ทางที่บรรเลงครั้งนี้ได้ผนวกกับทำนองพิเศษที่สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ทางฝรั่งในชื่อ “สรรเสริญเสือป่า”เพิ่มเติมเอาไว้ด้วย
Khabmaibandoh ขับไม้บัณเฑาะว์ (7.16)
This special track illustrates the prototype of Mahoree as found in archeological evidences. The musical style dated back to Sukothai period (around 13th century) when only Saw Samsai and the double-faced hour-glass drum Bandoh were used to formulate the Khabmai ensemble. This unique ensemble was designed by the royal aristocrat hindu Bhramin for special royal ceremonies such as welcoming to the new birth of a crown prince, the honoring ritual of a new royal white elephant and the honoring ritual for the new-built royal umbrella. The Bhramin would recite holy mantra and give philosophical words to the subject along with the overflow sounds of Saw Samsai and continually drone beats of Bandoh. Nowadays the enchanted song theme still remains its popularity and can be heard through many other kind of ensembles, include contemporary music.
ขับไม้บัณเฑาะว์ เป็นตัวอย่างของเสียงเพลงจากวงดนตรีต้นแบบมโหรีที่เรียกว่าวงขับไม้ อันประกอบด้วยเครื่องดนตรีทำนองหลักคือซอสามสายกับเครื่องจังหวะหลักคือกลองบัณเฑาะว์ ซึ่งเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในราชสำนักสมัยกรุงสุโขทัยสืบต่อเนื่องมาจนถึงราชสำนักปัจจุบัน มีบทบาทหน้าเพื่อรับใช้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับคตินิยมทางลัทธิพราหมณ์ อาทิ พระราชพิธีสมโภชพระอู่ พระราชพิธีขึ้นระวางช้างต้น พระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตรฉัตร โดยวงขับไม้จะบรรเลงประกอบการอ่านฉันท์สดุดีสังเวยหรือขับลำนำของพราหมณ์ ซอสามสายจะสีทำนองลำลองไปกับเสียงลำนำสวด ในขณะที่บันเฑาะว์จะไกวเป็นจังหวะลอยอยู่ท่ามกลางทำนองเพลง ให้ความรู้สึกสมาธิบนภวังค์เสียงที่เกิดขึ้น
ทำนองเพลงขับไม้บัณเฑาะว์มีความสง่างาม เป็นทำนองที่คุ้นหูผู้ฟังโดยทั่วไปนิยมนำไปบรรเลงโดยวงดนตรีประเภทต่างๆตลอดจนใช้ประกอบสื่อสมัยใหม่ สำหรับการบรรเลงซอสามสาย มักนิยมใช้เพลงขับไม้บัณเฑาะว์เป็นเพลงเริ่มต้นการศึกษาเรียนรู้เช่นกัน ด้วยว่ามีแบบแผนคันชักและการประสานเสียงต่างๆที่นำมาพัฒนาสู่การเรียนระดับสูงขึ้นได้ในกาลต่อไป
Salikachomduen สาลิกาชมเดือน (2.41)
The song title means the admiration of Salika bird to the moonlight. This is a showpiece musical counterpart using a contrast in slow-sweet-sadness emotion and in fast-complex-joyful emotion based on the same hidden theme. This special version of Khlui solo was composed by Master Tiep Konglaithong. Much of advance Khlui playing techniques can be observed throughout this short song such as circular breathing, alternative fingerings, twirling grace notes and other ornamentations.
เพลงสาลิกาชมเดือนเป็นเพลงมโหรีปี่พาทย์สำนวนใหม่กว่ากลุ่มมโหรีกรุงศรีอยุธยา ไม่ทราบชื่อผู้ประพันธ์ เป็นเพลงท่อนเดียว อัตราจังหวะหน้าทับปรบไก่ ทำนองที่บรรเลงด้วยขลุ่ยนี้เป็นสำนวนทางเดี่ยวที่เรียบเรียงโดยครูเทียบ คงลายทอง ปรมาจารย์เครื่องเป่าคนสำคัญของกรมศิลปากร โดยแบ่งเป็นทำนองหวานเศร้าช้าโหยหวนในช่วงต้น (เรียกว่าเที่ยวหวาน) และพลิกผันมาเป็นเร็วสนุกใช้วรรคกลอนทำนองเพลงที่สลับซับซ้อนในช่วงหลัง (เรียกว่าเที่ยวเก็บ)
Brahmkhaobot พราหมณ์เข้าโบสถ์ (2.38)
The song title describes Hindu priest (Brahmana) walks into holy shrine. Musical mood hence reveals in peacefulness and meditative ambience. Here the Krajappi lute plays solo part at the first half as question which answered back from the whole orchestra in the second half.
ชื่อเพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์หรือพราหมณ์เดินเข้ายังอุโบสถ ปรากฏในเอกสารเพลงยาวตำรามโหรี โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชำระไว้ในหนังสือประชุมบทมโหรี พ.ศ. ๒๔๖๓ กล่าวว่าเป็นเพลงหนึ่งในเพลงตับสำหรับไหว้ครูข้างเช้า (ซึ่งมีเพลงอื่นรวมอยู่ด้วยอีก ๖ เพลง) มีท่วงทำนองสงบสำรวม ในการบันทึกเสียงครั้งนี้นำกระจับปี่ซึ่งเป็นตัวแทนวงบรรเลงพิณอันเป็นต้นเค้าอีกสายหนึ่งของพัฒนาการมโหรีมาใช้เป็นเสียงเดี่ยวในท่อนต้น บรรเลงรับด้วยวงมโหรีเครื่องสี่ในท่อนกลับ
About Mahori Boraan
Mahoree Boraan: Ancient chamber music from the royal court of Thailand
Sweetly blending sounds, romantic musical atmosphere, lovely poetic singing, and attractive setting of gentle musical instruments altogether intermingle in Mahoree chamber orchestra of Siamese royal court entertainment.
The ensemble consists of long necked double-strings lute, Krajappi, three-stringed spike fiddle, Saw Samsai, bamboo flute, Khlui, glittering glass xylophone, Ranat Kaew, rhythmic percussions - a pair of footed-drum and frame-drum Thon-Rammana, Ching a pair of hand cymbals and Krabphuang a set of wooden clappers. Those instruments could be traced back to the intercultural contact of Buddhist Hindu and Islamic origins.
The name Mahoree has been mentioned in early Siamese literature since the 17th century and also coinciding with similar string-wind-percussion orchestra of Cambodia. In the past, Mahoree musicians were mostly young good-looking ladies playing nighttime music to their ensemble patrons – ranging from the King, Princes, to wealthy noblemen. The passionate Mahoree music exhibits best refinement artworks co-created by court poet and noble composers.
In the modern Thai society, Mahoree still plays its significant role in noble-home entertainment and much employed as wedding ceremony accompaniment.
This CD presents the original performance style and original sounding image of traditional Mahoree orchestra from early Rattanakosin period (18th century). It has been well preserved by the new generation of Thai musicians who continue their deep understandings from their earlier masters. The repertoires selected from those love song pieces have been long admired among Mahoree lovers.
เกี่ยวกับมโหรีโบราณ
มโหรีเป็นการประสมวงดนตรีที่ผ่านพัฒนาการมาในราชสำนักของกรุงสยามเป็นระยะเวลายาวนาน ต้นแบบของวงมโหรีเกิดจากการนำวงดนตรีขับไม้ในพิธีกรรมทางพราหมณ์ของหลวงและวงบรรเลงพิณประกอบการขับลำเล่าเรื่องของเดิมมารวมตัวกันใหม่ และจัดสรรบทบาทหน้าที่ตลอดจนสุ้มเสียงของเครื่องดนตรีใหม่จนกลายเป็นวงมโหรี เน้นความไพเราะสดใส นุ่มนวล อ่อนหวาน มากกว่าเสียงแห่งพลังอำนาจในดนตรีพิธีกรรมแต่เดิม นิยมใช้สุภาพสตรีเป็นนักดนตรี นักร้อง มีหน้าที่ขับกล่อมสร้างความบันเทิง บรรเลงขับลำนำบำเรอถวายในเขตพระราชฐานหรือตามบ้านเรือนของผู้มีบรรดาศักดิ์ที่มีบริวารเป็นสตรี นักมโหรีนอกจากจะมีหน้าที่ขับร้องบรรเลงเพลงมโหรีแล้วยังนิยมเล่นดอกสร้อยสักวาในเวลางานนักขัตฤกษ์
บทขับร้องมโหรีเป็นบทกาพย์กลอนเล่าเรื่อง มุ่งสร้างความเพลิดเพลินในการฟังมากกว่าคำสวดหรือคำร้องประเภทฉันท์ที่เคยใช้ในวงขับไม้ของเดิม อาจแต่งคำร้องเป็นบทย่อยๆโดยเฉพาะเพลง นำมาบรรเลงขับร้องเป็นเอกเทศ เรียกว่า “เพลงเกร็ด” หรือคิดแต่งวรรณคดีเป็นคำกลอนทั้งเรื่องหรือทั้งตอน แล้วบรรจุทำนองเพลงมโหรีเข้าไปให้เหมาะสม นำมาขับร้องบรรเลงติดต่อกันไป ฟังแล้วเกิดความต่อเนื่องของเนื้อหาเรื่องราว เรียกว่า “เพลงตับ” บทมโหรีที่นิยมขับร้องกัน เช่น บทมโหรีเรื่องพระรถเสนซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชำระจากความทรงจำของนางชิน คนครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นอาของเจ้าจอมมารดากรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา, บทมโหรีเรื่องกากีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ครั้งรัชกาลที่ ๑, บทมโหรีเรื่องอิเหนาของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) เมืองราชบุรี, บทมโหรีเรื่องรามเกียรติ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, บทมโหรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์, บทมโหรีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทมโหรีเหล่านี้เป็นงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทั้งในเชิงศิลปะและประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมมโหรีเคยเป็นที่นิยมมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนกระทั่งก้าวล่วงสู่กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและมาเสื่อมซาลงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบของวงมโหรีที่ปรากฏในงานวรรณกรรมและจิตรกรรมของอดีตมักจะเป็นภาพสตรีผู้บรรเลงซอสามสาย กระจับปี่ โทน-รำมะนา ขลุ่ย ขับร้องและตีกรับพวง กระทั่งเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีให้หลากหลายออกไป นำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง เช่น ระนาด ฆ้องวง เข้ามาประสม และนำเครื่องสายพื้นบ้านคือ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวง
ในกระบวนวงดนตรีไทยแบบแผนที่รู้จักกันในปัจจุบัน มโหรีถือเป็นวงดนตรีที่มีสีสันของเสียงสลับซับซ้อนมากที่สุด มีช่วงกว้างของเสียงมาก เพราะเป็นการรวบรวมเครื่องดนตรีทุกประเภททั้งดีดสีตีเป่ามารวมเข้าไว้ด้วยกัน ต้องใช้วิชาความรู้ขั้นสูงในการถ่ายทอดเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะเกิดความงามสมบูรณ์
บทบาทของมโหรีในปัจจุบันคือการละเล่นเพื่อความบันเทิง ผู้สนใจสามารถหาชมหาฟังได้จากงานมงคลสมรส หรือการแสดงดนตรีโดยทั่วไป
งานบันทึกเสียงครั้งนี้เป็นการย้อนรอยนำเครื่องดนตรีที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์พัฒนาการของมโหรีโบราณมาบันทึกเสียงใหม่ ใช้บทเพลงสมัยกรุงเก่าและต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นหลัก แนวทางของการบรรเลงและขับร้องพยายามรักษารูปแบบราชสำนักเอาไว้ โดยได้รับความกรุณาถ่ายทอดความรู้จากคุณครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ เป็นต้นแบบการขับร้องและบรรเลง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดแก้ว โทน-รำมะนา ฉิ่ง และกรับพวง
Asian Brass: track list
Kratai-ten and Makhayok กระต่ายเต้น-ม้าวิ่ง (2.50)
Two amusing tunes from Likay (folk opera) performance. The first one, Kratai-ten or “the dancing rabbit song”, composed in sequential variations which built upon parallelogram rhythmic fragments, usually used to accompany the entering stage of the leading male character in flirting manner. The later song Mawing or “the running horse song”, created in exciting rhythmic motion, gives a picture of the actor takes horse riding. The orchestra applies two original Myanmar-Mon drums into this CD track – Taphon Mon (a big barrel-shaped bass drum) and Perngmang Khawk (a set of seven drum in semi-circular frame).
เพลงยอดนิยมของการแสดงลิเกในฉากออกตัวของพระเอกหนุ่มขวัญใจแม่ยก และการแสดงขี่ม้าศึกด้วยท่าทางสง่างาม กระต่ายเต้นเป็นผลงานร่วมระหว่างครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในช่วงสองชั้น และครูบุญยงค์ เกตุคง ในช่วงชั้นเดียว ใช้กรอบจังหวะตะโพนมอญและเปิงมางคอกเป็นฐานในการต่อกลอนเพลงเป็นสัมผัสกันไปในแต่ละวรรค ส่วนเพลงม้าวิ่งเป็นเพลงในชุดมอญด้อมค่ายของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีลีลาตื่นเต้นเร้าใจ
Krawnork-Kraw taloong กราวนอก-กราวตะลุง (4.19)
Two successive famous procession opening themes usually played while the assemblages start to take-off from their house to the temple. Exciting drum pattern is called Nathap Kraw, a distinctive marching pattern which well-recognized in both masked dance drama and shadow puppet performances. The orchestra applies two Chinese-Indian derived drums into this CD track – Klong Thad (a pair of big bass drums) and Taphon (a double-headed drum).
สัญลักษณ์ของการเคลื่อนขบวนแห่แหนไทยๆ มักจะขึ้นต้นด้วยเพลงชุดกราวนอก-กราวตะลุงนี้ จังหวะคึกคักชวนให้เดินไป รำไป สร้างความสัมพันธ์สนุกสนานในชุมชนไทยมาเป็นเวลากว่าศตวรรษ ทำนองกราวนอกปรากฏในการแสดงโขนฉากยกทัพฝ่ายพระราม ส่วนกราวตะลุงเป็นเพลงที่ใช้ทั้งเล่นหนังตะลุง โขนสด การละเล่นบ้องตันแทงเสือในขบวนแห่ และการร้องเพลงชุดสิบสองภาษา กลองที่ใช้ในการบรรเลงนี้คือตะโพนและกลองทัด
Tari Kipus ตารีกีปัส (3.32)
Famous dancing song originated from Muslim community of Southern Thailand. The lively rhythmic movement resembles Rebana framed-drum pattern of Malaysian folk culture.
ทำนองเพลงระบำตารีกีปัส นำมาจากการเล่นรำพัดของนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง มีสำเนียงดนตรีมุสลิมที่สนุกสนานรื่นเริง ใช้กลองรำมะนาตีประกอบและมีเสียงลูกซัดแสดงอิทธิพลวันธรรมท้องถิ่น
Kluen kra top fang คลื่นกระทบฝั่ง (2.03)
A delightful parade theme, make a good sense to enjoy dancing rather than simply lifeless walking in the procession lines. The original song came from peaceful Piphat repertoire but dramatically changed into such electrifying feeling by sparkling rhythmic patterns of bass drum and hand cymbals.
เพลงเอกประจำขบวนแห่รื่นเริงในเทศกาลงานบุญงานบวชของไทย ทำนองเดิมของคลื่นกระทบฝั่งเป็นเพลงพิธีกรรมปี่พาทย์และนำไปใช้ในการขับร้องเพลงตับเน้นความเรียบร้อยงดงาม แต่เมื่อมาประสมกับจังหวะกลองฉิ่งฉาบรุกเร้า เล่นด้วยอารมณ์อิสระเสรีแบบพื้นบ้าน ทำให้เพลงนี้เปลี่ยนบุคลิกภาพไปโดยสิ้นเชิง และยังคงยืนยันความสนุกสนานบันเทิงทุกคราวครั้งที่เสียงแตรวงชาวบ้านดังขึ้น
Tra Nimitra ตระนิมิตร (3.23)
Highlight one of the important ritual songs to be performed in Wai Kru ceremony and song for describing magical scene in Khon masked theatre. The harmony arrangement is done by the father of modern Thai Military Band, H.R.H. Prince Paripatra. The song opens with strongly melodic and rhythmic outline and gradually endings with rubato movement.
ตระนิมิตเป็นเพลงหน้าพาทย์สำคัญมาแต่โบราณ ใช้ทั้งในพิธีกรรมไหว้ครูและการแสดงโขนละครในฉากที่เน้นอิทธิฤทธิ์ สื่อความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นศิริมงคล ท้ายเพลงตระนิมิตลงจบด้วยทำนองรัวลาเดียวสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงนำเพลงตระนิมิตนี้มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ ใช้ในการบรรเลงโยธวาทิตเพลงชุดตับพรหมาสตร์พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Lao Duangduern ลาวดวงเดือน (2.01)
An early arrangement by Luang Prasanduriyanga (the student of H.R.H. Prince Paripatra) who was one of pioneers during the golden time of standardize Military band in Thai Royal Army music division. This song evidences one of his innovative ideas by turning famous pentatonic love tune Lao Duang Duern into robustly western-idiom marching song.
หลวงประสานดุริยางค์ (สุทธิ์ ศรีชญา) ศิษย์เอกของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้นำเพลงลาวดวงเดือน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มาเรียบเรียงเสียงประสานเป็นทางโยธวาทิต ใช้จังหวะและสีสันของดนตรีมาร์ชมาตรฐานของตะวันตกมาเป็นหลักในการตีความ ทำให้บุคลิกลักษณะของเพลงมีความน่าสนใจจากทำนองเดิมที่คุ้นเคยกัน ปัจจุบันต้นฉบับเพลงนี้ยังรักษาไว้อย่างดีที่กองดุริยางค์กองทัพบก
Khaek Khao แขกขาวสองชั้น ออกเพลงภารตะ-ปลายซำเซ (6.26)
The title means “white foreigner”, also applied to Islamic people from Middle East who came to Thailand for trading business. The musical setting consists of two continuous parts, medium tempo one for beautifulness and fast one for enjoyment. Klong Khaek, a pair of Indo-Malay derived drums is used for providing freely-improvisation rhythmic patterns..
เพลงชุดแขก นำมาบรรเลงติดต่อกันหลายเพลง เริ่มด้วยทำนองแขกขาวสองชั้นและชั้นเดียวของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ต่อด้วยหางเครื่องเพลงแขกสั้นๆ ภารตะ ปลายซำเซ ของครูบุญยงค์ เกตุคง ทำนองสนุกสนาน ใช้กลองแขกตีคลุกเคล้าเข้ากับลีลาของเพลง
Mon Oy Ing Thao มอญอ้อยอิ่งเถา (7.10)
A funeral theme mixed with special solo part performed by Pi Mon, a lower pitched shawm-oboe. The song is composed by Master Chalerm Buathang in Thao form, a series of triple metrical levels. Interesting to observe how nicely harmonic contrasts when twisting melodic line of Pi Mon meets those straightforward lines of the majority Traewong orchestra throughout the Thao song.
ทำนองโดยครูเฉลิม บัวทั่ง แต่งเป็นเพลงเถา สำเนียงมอญ อารมณ์รักโศกสลด ได้รับความนิยมในการนำไปบรรเลงประกอบบรรยากาศงานศพ ในการบรรเลงครั้งนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ คือได้ทดลองเพิ่มเติมปี่มอญเสียงโหยหวนครวญคร่ำมาสอดแทรกเสียงแตรวงที่คุ้นเคย เกิดมิติอารมณ์และรูปลักษณ์ของแนวการประสานเสียงสอดซ้อนที่แตกต่างออกไป เครื่องจังหวะหน้าทับใช้ตะโพนมอญและเปิงมางคอก
Jeen Khim Lek จีนขิมเล็ก-จีนรัว (2.06)
Old Thai songs by anonymous composed in Chinese accent; with additional Chinese percussions thus create feelings like that of Chinese religious festivals. The last part of the song, a great deal of modulations in exciting rhythm, shows how clever the composer interprets his idea of widening small melodic fragments into larger soundscape.
เพลงสำเนียงจีนเก่าแก่ เดิมใช้ในการเล่นปี่พาทย์พิธีกรรมและปี่พาทย์นางหงส์ ได้นำมาบรรเลงโดยแตรวง ใช้เครื่องภาษาจีนต่างๆประกอบ อาทิ กลองจีน ผ่าง แต๋ว ต๊อก เพลงจีนขิมเล็กเป็นเพลงสั้นๆลักษณะหน้าทับสองไม้ มีสามท่อน ส่วนเพลงจีนรัวเป็นเพลงท่อนเดียว ประพันธ์โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนย้ายหน่วยทำนองตัดกับกระสวนจังหวะอย่างน่าสนใจ
Khamen Cadet เขมรเขด็จ ออกท้ายเพลงลูกหมดเขมร(3.33)
The music title, Cadet, clearly related to the early history of Thailand Military training in old British educational curricula, and also can be related to the primary appearance of brass band in Thai Militarily culture. The song illustrates different colors of instruments in the orchestra alongside with syncopated rhythmic patterns played by a pair of goblet-shaped Thon drums against the small Klong Took drum.
เพลงชุดสำเนียงเขมร เริ่มด้วยเพลงเขมรเขด็จ เดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆสลับกับวง ลงท้ายด้วยเพลงออกลูกหมดเขมร ใช้โทนคู่และกลองตุ๊กตีประกอบ ชื่อเพลงที่เล่นนี้เป็นหลักฐานที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์การพัฒนาวิชาการทหารของไทยในสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์ เขด็จเพี้ยนมาจากคำว่า Cadet ซึ่งหมายถึงนักศึกษาวิชาทหารในระบบการศึกษาอย่างอังกฤษโบราณ
Phama Kwe พม่าเขว ออกหางเครื่องพม่า (3.08)
Trilling beats of gong, crispy sounds of Chab cymbals, and stimulating Klong Yao drum rhythms make this song unbearable to just listen motionless. The main theme is called Phama Kwe, a lively Burmese accent theatre song but better known to the Thai audiences by its newer famous song title Chang - the happy elephant. Enjoy!
เพลงพม่าเขวและหางเครื่องพม่า บรรเลงด้วยแตรวง ผสมผสานเครื่องจังหวะต่างๆ ได้แก่ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ทำนองสนุกตื่นเต้นโลดโผน ชวนให้ร่ายรำ
Two amusing tunes from Likay (folk opera) performance. The first one, Kratai-ten or “the dancing rabbit song”, composed in sequential variations which built upon parallelogram rhythmic fragments, usually used to accompany the entering stage of the leading male character in flirting manner. The later song Mawing or “the running horse song”, created in exciting rhythmic motion, gives a picture of the actor takes horse riding. The orchestra applies two original Myanmar-Mon drums into this CD track – Taphon Mon (a big barrel-shaped bass drum) and Perngmang Khawk (a set of seven drum in semi-circular frame).
เพลงยอดนิยมของการแสดงลิเกในฉากออกตัวของพระเอกหนุ่มขวัญใจแม่ยก และการแสดงขี่ม้าศึกด้วยท่าทางสง่างาม กระต่ายเต้นเป็นผลงานร่วมระหว่างครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในช่วงสองชั้น และครูบุญยงค์ เกตุคง ในช่วงชั้นเดียว ใช้กรอบจังหวะตะโพนมอญและเปิงมางคอกเป็นฐานในการต่อกลอนเพลงเป็นสัมผัสกันไปในแต่ละวรรค ส่วนเพลงม้าวิ่งเป็นเพลงในชุดมอญด้อมค่ายของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีลีลาตื่นเต้นเร้าใจ
Krawnork-Kraw taloong กราวนอก-กราวตะลุง (4.19)
Two successive famous procession opening themes usually played while the assemblages start to take-off from their house to the temple. Exciting drum pattern is called Nathap Kraw, a distinctive marching pattern which well-recognized in both masked dance drama and shadow puppet performances. The orchestra applies two Chinese-Indian derived drums into this CD track – Klong Thad (a pair of big bass drums) and Taphon (a double-headed drum).
สัญลักษณ์ของการเคลื่อนขบวนแห่แหนไทยๆ มักจะขึ้นต้นด้วยเพลงชุดกราวนอก-กราวตะลุงนี้ จังหวะคึกคักชวนให้เดินไป รำไป สร้างความสัมพันธ์สนุกสนานในชุมชนไทยมาเป็นเวลากว่าศตวรรษ ทำนองกราวนอกปรากฏในการแสดงโขนฉากยกทัพฝ่ายพระราม ส่วนกราวตะลุงเป็นเพลงที่ใช้ทั้งเล่นหนังตะลุง โขนสด การละเล่นบ้องตันแทงเสือในขบวนแห่ และการร้องเพลงชุดสิบสองภาษา กลองที่ใช้ในการบรรเลงนี้คือตะโพนและกลองทัด
Tari Kipus ตารีกีปัส (3.32)
Famous dancing song originated from Muslim community of Southern Thailand. The lively rhythmic movement resembles Rebana framed-drum pattern of Malaysian folk culture.
ทำนองเพลงระบำตารีกีปัส นำมาจากการเล่นรำพัดของนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง มีสำเนียงดนตรีมุสลิมที่สนุกสนานรื่นเริง ใช้กลองรำมะนาตีประกอบและมีเสียงลูกซัดแสดงอิทธิพลวันธรรมท้องถิ่น
Kluen kra top fang คลื่นกระทบฝั่ง (2.03)
A delightful parade theme, make a good sense to enjoy dancing rather than simply lifeless walking in the procession lines. The original song came from peaceful Piphat repertoire but dramatically changed into such electrifying feeling by sparkling rhythmic patterns of bass drum and hand cymbals.
เพลงเอกประจำขบวนแห่รื่นเริงในเทศกาลงานบุญงานบวชของไทย ทำนองเดิมของคลื่นกระทบฝั่งเป็นเพลงพิธีกรรมปี่พาทย์และนำไปใช้ในการขับร้องเพลงตับเน้นความเรียบร้อยงดงาม แต่เมื่อมาประสมกับจังหวะกลองฉิ่งฉาบรุกเร้า เล่นด้วยอารมณ์อิสระเสรีแบบพื้นบ้าน ทำให้เพลงนี้เปลี่ยนบุคลิกภาพไปโดยสิ้นเชิง และยังคงยืนยันความสนุกสนานบันเทิงทุกคราวครั้งที่เสียงแตรวงชาวบ้านดังขึ้น
Tra Nimitra ตระนิมิตร (3.23)
Highlight one of the important ritual songs to be performed in Wai Kru ceremony and song for describing magical scene in Khon masked theatre. The harmony arrangement is done by the father of modern Thai Military Band, H.R.H. Prince Paripatra. The song opens with strongly melodic and rhythmic outline and gradually endings with rubato movement.
ตระนิมิตเป็นเพลงหน้าพาทย์สำคัญมาแต่โบราณ ใช้ทั้งในพิธีกรรมไหว้ครูและการแสดงโขนละครในฉากที่เน้นอิทธิฤทธิ์ สื่อความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นศิริมงคล ท้ายเพลงตระนิมิตลงจบด้วยทำนองรัวลาเดียวสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงนำเพลงตระนิมิตนี้มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ ใช้ในการบรรเลงโยธวาทิตเพลงชุดตับพรหมาสตร์พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Lao Duangduern ลาวดวงเดือน (2.01)
An early arrangement by Luang Prasanduriyanga (the student of H.R.H. Prince Paripatra) who was one of pioneers during the golden time of standardize Military band in Thai Royal Army music division. This song evidences one of his innovative ideas by turning famous pentatonic love tune Lao Duang Duern into robustly western-idiom marching song.
หลวงประสานดุริยางค์ (สุทธิ์ ศรีชญา) ศิษย์เอกของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้นำเพลงลาวดวงเดือน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มาเรียบเรียงเสียงประสานเป็นทางโยธวาทิต ใช้จังหวะและสีสันของดนตรีมาร์ชมาตรฐานของตะวันตกมาเป็นหลักในการตีความ ทำให้บุคลิกลักษณะของเพลงมีความน่าสนใจจากทำนองเดิมที่คุ้นเคยกัน ปัจจุบันต้นฉบับเพลงนี้ยังรักษาไว้อย่างดีที่กองดุริยางค์กองทัพบก
Khaek Khao แขกขาวสองชั้น ออกเพลงภารตะ-ปลายซำเซ (6.26)
The title means “white foreigner”, also applied to Islamic people from Middle East who came to Thailand for trading business. The musical setting consists of two continuous parts, medium tempo one for beautifulness and fast one for enjoyment. Klong Khaek, a pair of Indo-Malay derived drums is used for providing freely-improvisation rhythmic patterns..
เพลงชุดแขก นำมาบรรเลงติดต่อกันหลายเพลง เริ่มด้วยทำนองแขกขาวสองชั้นและชั้นเดียวของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ต่อด้วยหางเครื่องเพลงแขกสั้นๆ ภารตะ ปลายซำเซ ของครูบุญยงค์ เกตุคง ทำนองสนุกสนาน ใช้กลองแขกตีคลุกเคล้าเข้ากับลีลาของเพลง
Mon Oy Ing Thao มอญอ้อยอิ่งเถา (7.10)
A funeral theme mixed with special solo part performed by Pi Mon, a lower pitched shawm-oboe. The song is composed by Master Chalerm Buathang in Thao form, a series of triple metrical levels. Interesting to observe how nicely harmonic contrasts when twisting melodic line of Pi Mon meets those straightforward lines of the majority Traewong orchestra throughout the Thao song.
ทำนองโดยครูเฉลิม บัวทั่ง แต่งเป็นเพลงเถา สำเนียงมอญ อารมณ์รักโศกสลด ได้รับความนิยมในการนำไปบรรเลงประกอบบรรยากาศงานศพ ในการบรรเลงครั้งนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ คือได้ทดลองเพิ่มเติมปี่มอญเสียงโหยหวนครวญคร่ำมาสอดแทรกเสียงแตรวงที่คุ้นเคย เกิดมิติอารมณ์และรูปลักษณ์ของแนวการประสานเสียงสอดซ้อนที่แตกต่างออกไป เครื่องจังหวะหน้าทับใช้ตะโพนมอญและเปิงมางคอก
Jeen Khim Lek จีนขิมเล็ก-จีนรัว (2.06)
Old Thai songs by anonymous composed in Chinese accent; with additional Chinese percussions thus create feelings like that of Chinese religious festivals. The last part of the song, a great deal of modulations in exciting rhythm, shows how clever the composer interprets his idea of widening small melodic fragments into larger soundscape.
เพลงสำเนียงจีนเก่าแก่ เดิมใช้ในการเล่นปี่พาทย์พิธีกรรมและปี่พาทย์นางหงส์ ได้นำมาบรรเลงโดยแตรวง ใช้เครื่องภาษาจีนต่างๆประกอบ อาทิ กลองจีน ผ่าง แต๋ว ต๊อก เพลงจีนขิมเล็กเป็นเพลงสั้นๆลักษณะหน้าทับสองไม้ มีสามท่อน ส่วนเพลงจีนรัวเป็นเพลงท่อนเดียว ประพันธ์โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนย้ายหน่วยทำนองตัดกับกระสวนจังหวะอย่างน่าสนใจ
Khamen Cadet เขมรเขด็จ ออกท้ายเพลงลูกหมดเขมร(3.33)
The music title, Cadet, clearly related to the early history of Thailand Military training in old British educational curricula, and also can be related to the primary appearance of brass band in Thai Militarily culture. The song illustrates different colors of instruments in the orchestra alongside with syncopated rhythmic patterns played by a pair of goblet-shaped Thon drums against the small Klong Took drum.
เพลงชุดสำเนียงเขมร เริ่มด้วยเพลงเขมรเขด็จ เดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆสลับกับวง ลงท้ายด้วยเพลงออกลูกหมดเขมร ใช้โทนคู่และกลองตุ๊กตีประกอบ ชื่อเพลงที่เล่นนี้เป็นหลักฐานที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์การพัฒนาวิชาการทหารของไทยในสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์ เขด็จเพี้ยนมาจากคำว่า Cadet ซึ่งหมายถึงนักศึกษาวิชาทหารในระบบการศึกษาอย่างอังกฤษโบราณ
Phama Kwe พม่าเขว ออกหางเครื่องพม่า (3.08)
Trilling beats of gong, crispy sounds of Chab cymbals, and stimulating Klong Yao drum rhythms make this song unbearable to just listen motionless. The main theme is called Phama Kwe, a lively Burmese accent theatre song but better known to the Thai audiences by its newer famous song title Chang - the happy elephant. Enjoy!
เพลงพม่าเขวและหางเครื่องพม่า บรรเลงด้วยแตรวง ผสมผสานเครื่องจังหวะต่างๆ ได้แก่ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ทำนองสนุกตื่นเต้นโลดโผน ชวนให้ร่ายรำ
About Asian Brass
Traewong: Thai Brass Band
Traewong is a Thai term for labeling the special music ensemble consisted of a combination of western wind and brass instruments in conjunction with Thai rhythmic percussion.
This unique orchestra is one of socio-cultural results during and after the early history of modernized Thailand by means of European military knowledge transformation.
It began in the early 19th century, during the reign of H.M. King Mongkut Rama IV. His younger brother King Prabatsomdejphrapinklao had made his best endeavor to improve his royal army unit based on European training standard. Therefore, the western brass music was introduced to Thailand by that time in order to coach military signals, and be a complement to marching regulation.
At the beginning, the early commonly known music were those of strong European and American March tunes played within straightforward marching rhythmic patterns. Afterward, the Thai military music unit had tried their own musical path by utilizing and blending Thai traditional songs into their normal western marching pieces and concert pieces.
Those Thai songs gave more freedom to the local musicians to interpret than the western written music because Thai music always based on oral tradition and more familiar to Thai ears.
Another new music adaptive was also done by means of undertook some traditional Thai percussions to enrich the diversity colors of the common brass band orchestra. Thai percussions in this case were namely Ching (small hand cymbals play regular beat keeping), Chab (big hand cymbals play interlocking part to the normal tempo), and Klong (variety of drums play rhythmic patterns to formulate and to decorate the main composition). Later on the new hybridized sounds of Thai brass band became incredibly popular not only among the Thai military corporations but also extended to normal Thai people.
After the reign of King Rama V when Thailand stepped towards the modern world of livings, Traewong became well-recognized entertainment music by the general Thai public as synonymous to those of common traditional Piphat, Kruangsai and Mahoree. Ordinary people, grassroots, local temples and remote communities could be afforded to have their own bands and happily found their ways of appreciate Traewong music.
The musical comprehension in terms of Orchestration and Harmony that found in the Traewong case are much different from the Western music oriented culture. Whereas the typical Western Brass Band is much emphasized by solid system of Homophonic and Polyphonic/Contrapuntal texture, the Thai Traewong is rather enjoy playing Heterophonic, or even free-improvisation like that of traditional Piphat interpretation. However, among the well-educated Thai military music groups, there were some attempts to formulate a particular way of Traewong harmony into western idiom and also attempts to make written music scores. The New Harmony idea was introduced by H.R.H. Prince Paripatra who has had his personal music background from Germany school. Nonetheless the majority of common Traewong still play their music by ears and by whatever skills they can discover through self-learning. The naïve way of playing Traewong somehow creates more appealing than the pedagogic one.
The combination of musical instruments and their musical function in Traewong as comparable to Thai indigenous Piphat music can be found in this followings:
Woodwind section
1.1 Clarinet (Eb and Bb) : opening and leading the song. Style of playing is comparable to Ranat Ek the leading high-pitched wooden xylophone. The most important one is Bb, usually in leader’s hands.
1.2 Saxophone (tenor and alto) : support the role of Clarinet but less ornamentations and less melodic variations. Style of playing can be comparable to Ranat Ek Hlek the metal xylophone or Khong Wong Lek the smaller gong circle.
2. Brass section
2.1 Trumpet and Cornet : play main melody in higher sound registers. The interpretations are similar to that of Khong Wong Yai the large gong circle.
2.2 French Horn : plays main melody and some ornamentations.
2.3 Baritone: plays main melody in lower sound registers. The interpretation likes that of Khong Wong Yai the large gong circle.
2.4 Trombone and Euphonium : play skeleton melody, sometimes play off-beat against the main melody (depends on the circumstance). The style of playing likes that of Ranat Thum the lower-pitched xylophone.
2.5 Tuba : play bass-line or skeleton melody in lower register. The style of playing likes that of Ranat Thum Hlek the lower-pitched metal xylophone.
3. Thai percussions section
to be used when play Thai traditional songs or song for dances
3.1 Ching, Krab, Mong and Chab Yai : keeps regular beats.
3.2 Chab Lek : plays off-beat against the Ching patterns.
3.3 various Drums namely Klong Khaek, Perng Mang Kwak, Taphon Thai, Taphon Mon, Klong Thad, Klong Yao, Klong Jeen etc. provide rhythmic patterns to the orchestra.
4. Western percussions section
to be used during marching event
4.1 Bass Drum
4.2 Snare Drum
4.3 Cymbals
5. Extra musical instruments
5.1 Electric Keyboard
5.2 Electric Bass
As time passed, the Traewong has been served up Thai society by fulfilled community’s needs such as being a part of rituals, ceremonies, festival celebrations, theatre, film, entertainments and even didactic function. The exciting sounds of Traewong always stimulate community’s spirit. People can easily enjoy Traewong by simply listening, watching and even freely dancing along its energetic rhythm. From time to time, masters of Traewong have been continuously created various styles of playing and left so much interesting compositions for younger generations to carry on their thoughts.
Now in the rapidly changing world, where live music is replaced by new technologies and where community spirit is disappeared, the aged breathe of Traewong become weak and weaker. Even though there are still some attempts of preserving this intangible cultural heritage by means of competitions and educations, but no one can really predict how long the ending will be.
เกี่ยวกับแตรวง
สังคมไทย มีพัฒนาการทางการเมืองเศรษฐกิจและความสัมพันธ์กับต่างประเทศมาอย่างยาวนาน การเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก ถูกนำมาปรับใช้กับวิถีไทยหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี แม้กระทั่งการดนตรีซึ่งแต่เดิมคนสยามมีดนตรีหลากหลายอยู่แล้วก็ยังเปิดรับสิ่งที่เป็นมรดกดนตรีตะวันตกเข้ามาด้วย แต่ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและรสนิยมของผู้ฟัง
วงดนตรีเครื่องเป่า (Wind and Brass Ensemble) เป็นวงดนตรีที่ใช้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกามาแต่โบราณ ในกิจการของกองทัพ การฝึกแถว การเดินสวนสนามในพิธีเกียรติยศ และการประโคมในพิธีเฉลิมฉลองของรัฐหรือราชวงศ์ ต่อมาพัฒนาเป็นวงดนตรีนั่งเล่นอย่างคอนเสิร์ตซิมโฟนีออร์เคสตร้า โดยมีการประพันธ์เพลงและเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นมาโดยเฉพาะ
ดนตรีเครื่องเป่าของยุโรปและอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยมีการฝึกหัดแถวทหารอย่างอังกฤษ ช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ โดยมีครูฝึกดนตรีเพื่อการสวนสนามเข้ามาวางรากฐานดนตรีประเภทนี้กันหลายท่าน อาทิ ร.อ.น็อกซ์ ร.อ.อิมเปย์ ภายหลังการดนตรีเครื่องเป่าสากลได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือและทหารบก จากการเล่นเพลงฝรั่งก็ได้หันไปเล่นเพลงพระนิพนธ์ซึ่งเป็นเพลงไทยดัดแปลงและเพลงไทยใหม่ แล้วได้แพร่หลายจากกองทัพไปสู่ประชาชนในกาลต่อมา เนื่องจากเครื่องดนตรีเล่นกันเป็นลักษณะเข้ากลุ่มเข้าวง เรียกเป็นภาษาปากว่า “แตรวง” (Brass Band) และเมื่อนิยมนำไปแห่ในพิธีต่างๆตามชนบท โดยความรู้ของชาวบ้าน เล่นและฟังกันโดยชาวบ้าน เพื่อรับใช้กิจกรรมทางสังคมของชาวบ้านเป็นหลักจึงมีชื่อเรียกของวงแตรวงชนิดนี้อย่างเต็มยศว่า “แตรวงชาวบ้าน”
เครื่องดนตรีในวงแตรวงประกอบไปด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบจังหวะเป็นหลัก เครื่องดนตรีที่เห็นว่านิยมใช้กันมาก เช่น คลาริเน็ต แซ็กโซโฟน ทรัมเป็ต ทรอมโบน คอร์เน็ต บาริโทน (ยูโฟเนียม) ทูบา ฮอร์น กลองใหญ่หรือกลองมริกัน (เบสดรัม) กลองทรีโอหรือกลองโซโล ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาจผสมเครื่องดนตรีอื่นๆเข้าไปด้วยตามความเหมาะสมของการแสดง เช่น ตะโพน เปิงมางคอก กลองแขก คีย์บอร์ด เบสไฟฟ้า และเครื่องเพอคัสชั่นอื่นๆ
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยนิยมใช้เสียงแตรวงประโคมแห่ในงานพิธีกรรมต่างๆที่มีชาวบ้านมาชุมนุมกัน ทั้งงานรื่นเริงบันเทิงใจ อาทิ งานบวชนาค ทำขวัญ งานแห่ขันหมาก งานมงคลสมรส งานสมโภชวันสำคัญทางพุทธศาสนา งานศพ งานมหรสพ การโหมโรงหน้าโรงละคร โหมโรงหน้าโรงหนัง ไปจนถึงงานประโคมข่าวป่าวประกาศกิจกรรมการเมืองท้องถิ่น ฯลฯ มีบทเพลงนานาประเภทที่แตรวงและนำมาบรรเลงกันอย่างกว้างขวาง ทั้ง เพลงไทยแบบแผนดั้งเดิม เพลงโหมโรง เพลงเถา เพลงตับ เพลงหน้าพาทย์พิธีกรรม เพลงละคร ไปจนถึงเพลงรำวง เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงสตริงสมัยใหม่ เพลงวัยรุ่นยอดนิยม เพลงร็อค เพลงมาร์ช ไม่ว่าเพลงในลักษณะใด เพลงไหนที่โด่งดังเป็นที่รู้จักในสังคม ชาวแตรวงก็จดจำนำมาเล่นกันได้อย่างสนุกสนานและสนิทสนม แม้มิได้มีวิธีการเรียบเรียงเสียงประสานที่เคร่งครัดอย่างระเบียบวิธีของทฤษฎีดนตรีคลาสสิกตะวันตก แต่ก็ลื่นไหลน่าฟังอย่างแนบเนียนด้วยกรรมวิธีลีลาของดนตรีพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
เสียงดนตรีแตรวงเป็นเสียงที่เชื่อมโยงกิจกรรมของชาวบ้านให้ดำเนินไปอย่างผาสุข เป็นเสียงที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าเสียงดนตรีในนิยามทั่วไปของหน้าหนังสือแบบเรียนหรือหนังสืออ่านเล่นทั่วไป เครื่องดนตรีในวงแตรก็เป็นการประสมประสานทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจศึกษาค้นหาความหมายไม่แพ้กัน
ในปัจจุบัน สภาพสังคมเปลี่ยนไป ความนิยมในการประโคมแห่ลดลงและมีกิจกรรมดนตรีเพื่อสังคมชาวบ้านแบบอื่นๆมาใช้ทดแทน แต่ก็มิใช่ว่าแตรวงชาวบ้านจะเงียบเสียงไปเสียเลยทีเดียว ในหลายท้องถิ่นยังคงพึ่งพาดนตรีแตรวงเพื่อความสนุกสนานบันเทิงในชุมชน ยังคงมีชาวบ้านที่สนใจฝึกฝนแตรวงแบบชาวบ้าน สืบทอดวิธีการบรรเลงด้วยลีลาของชาวบ้านกันอยู่ แม้ว่าทางหน่วยงานราชการและสถานศึกษาสมัยใหม่จะหันไปนิยมการส่งเสริมวง “โยธวาทิต” ที่มีระเบียบแบบแผนมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติมากกว่าแล้วก็ตาม
Subscribe to:
Posts (Atom)