Malaengphoo Thong แมลงภู่ทอง (8.27)
“Malaengphoo Thong” means a golden bee. The song is composed by anonymous who used rhapsodic Songmai idiom as the fundamental of freely melodic structure. Song text is originated from the famous Ayutthaya folk tale Khun Chang Khun Phan describes the harsh argument of reunited lovers at late night.
เพลงแมลงภู่ทองเป็นเพลงเก่า ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์ ใช้อัตราหน้าทับสองไม้ จังหวะปานกลาง เป็นเพลงที่ใช้แสดงความสามารถของนักร้องเพลงในท่อนด้นทางร้องอิสระในเชิงต่อว่าต่อขานคารม เนื้อร้องที่นิยมนำมาใช้ขับร้องเข้าใจว่าได้ต้นเค้ามาจากวรรณคดีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนจะพานางวันทองลงจากเรือน แต่ปรุงแต่งถ้อยคำให้เหมาะกับการร้องอิสระขึ้นจากโครงสร้างกลอนสัมผัสแบบเดิม
Khamwan คำหวาน (7.33)
The title means sweet words, which is much appropriate to the holistic feeling of the composition, song text, and performance interpretations. Tuneful Saw Samsai well parallels with vocal ornamentation techniques consequently reasoning in the motivating harmony.
คำหวานเป็นเพลงมโหรีต้นแบบที่นิยมมาแต่ครั้งกรุงเก่า รวมอยู่ในตับเรื่องนางไห้ มีท่วงทำนองอ่อนหวานไพเราะ ใช้หน้าทับพระทองตีกำกับ เนื้อร้องมีลักษณะของกลอนเพลงกล่อมเด็กซึ่งเป็นพัฒนาการดั้งเดิมของกวีนิพนธ์ในสมัยโบราณ การขับร้องมีการใช้ซอสามสายคลอ รับร้องด้วยวงมโหรีโบราณประสมระนาดแก้วเสียงสดใสไพเราะ
Leelakrathoom ลีลากระทุ่ม (4.46)
The singer brings old song text that used for paying worship to Mahoree music gods and commences the opening performance. The same melody also can be found in royal court theatre Lakon Nai.
เพลงลีลากระทุ่มเป็นเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งในในนำไปบรรจุเป็นทำนองร้องสำหรับบทมโหรีและละครของหลวง ทำนองเพลงโอ่อ่าสง่างาม อัตราจังหวะสองชั้น ใช้หน้าทับปรบไก่ตีกำกับ เนื้อร้องที่นำมาร้องนี้เป็นร่องรอยสำคัญในวัฒนธรรมการไหว้ครูตำรามโหรีโบราณ ปรากฏคำประพันธ์ที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันในเพลงยาวไหว้ครูมโหรีโบราณ รวมทั้งวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ที่ระบุคำว่ามโหรีเอาไว้ เช่น อิเหนา พระอภัยมณี เป็นต้น
Bulanloylern บุหลันลอยเลื่อน (11.26)
The song features advance solo techniques of the fiddle Saw Samsai. There was a legend believed that this song was composed from a mysterious dream of King Rama II, Somdej Phra Phuttalertlahnapalai of Chakkri dynasty who ruled Thailand in early Bangkok period 18th century. The King was regarded as great artist who has deep knowledge in all aspects of art including music, and Saw Samsai was his best musical instrument. At one night his majesty played Saw Samsai and fell asleep, and then the vivid moon appeared into his dream together with such beautiful sounds of music. When the king woke up, the music still well remembered in his ears. So he passed on this melody to his court musicians and named the song title as “Bulanloylern” which means the floating moon. Song text came from his majesty’s adaptation of old Javanese Panji story which later called as Inao in Thailand.
The Saw Samsai version in this recording combines the original theme with a new arrangement of H.R.H. Prince Paripatra who wrote Bulanloylern into a brass band variation for national anthem.
บทเพลงบุหลันลอยเลื่อน เชื่อว่าเป็นงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นอัจฉริยศิลปินในศิลปะทุกแขนงรวมทั้งดนตรีไทย และยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการบรรเลงซอสามสาย คืนหนึ่งเมื่อทรงดนตรีแล้วเข้าที่บรรทม ทรงพระสุบินนิมิตเห็นดวงจันทร์ทอแสงสุกสกาวลอยเข้ามาใกล้และมีเสียงเพลงไพเราะล่องลอยมาจากดวงจันทร์นั้น เมื่อตื่นพระบรรทม ก็ยังทรงจดจำทำนองเพลงนั้นได้เป็นอย่างดี จึงโปรดให้พนักงานมโหรีหลวงต่อเพลงนี้เอาไว้ และจดจำกันสืบต่อมา เรียกชื่อเพลงแต่เดิมว่า “ทรงพระสุบิน” หรือ “สรรเสริญพระบารมีทางไทย” ต่อมาเมื่อนำบทกลอนจากพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาตอนสังคามาระตาแต่งถ้ำมาใช้เป็นบทขับร้องเฉพาะ จึงเรียกว่า “บุหลันลอยเลื่อน” ทำนองเพลงนี้มีความงามวิจิตร นิยมใช้บรรเลงอวดฝีมือซอสามสาย ทางที่บรรเลงครั้งนี้ได้ผนวกกับทำนองพิเศษที่สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ทางฝรั่งในชื่อ “สรรเสริญเสือป่า”เพิ่มเติมเอาไว้ด้วย
Khabmaibandoh ขับไม้บัณเฑาะว์ (7.16)
This special track illustrates the prototype of Mahoree as found in archeological evidences. The musical style dated back to Sukothai period (around 13th century) when only Saw Samsai and the double-faced hour-glass drum Bandoh were used to formulate the Khabmai ensemble. This unique ensemble was designed by the royal aristocrat hindu Bhramin for special royal ceremonies such as welcoming to the new birth of a crown prince, the honoring ritual of a new royal white elephant and the honoring ritual for the new-built royal umbrella. The Bhramin would recite holy mantra and give philosophical words to the subject along with the overflow sounds of Saw Samsai and continually drone beats of Bandoh. Nowadays the enchanted song theme still remains its popularity and can be heard through many other kind of ensembles, include contemporary music.
ขับไม้บัณเฑาะว์ เป็นตัวอย่างของเสียงเพลงจากวงดนตรีต้นแบบมโหรีที่เรียกว่าวงขับไม้ อันประกอบด้วยเครื่องดนตรีทำนองหลักคือซอสามสายกับเครื่องจังหวะหลักคือกลองบัณเฑาะว์ ซึ่งเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในราชสำนักสมัยกรุงสุโขทัยสืบต่อเนื่องมาจนถึงราชสำนักปัจจุบัน มีบทบาทหน้าเพื่อรับใช้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับคตินิยมทางลัทธิพราหมณ์ อาทิ พระราชพิธีสมโภชพระอู่ พระราชพิธีขึ้นระวางช้างต้น พระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตรฉัตร โดยวงขับไม้จะบรรเลงประกอบการอ่านฉันท์สดุดีสังเวยหรือขับลำนำของพราหมณ์ ซอสามสายจะสีทำนองลำลองไปกับเสียงลำนำสวด ในขณะที่บันเฑาะว์จะไกวเป็นจังหวะลอยอยู่ท่ามกลางทำนองเพลง ให้ความรู้สึกสมาธิบนภวังค์เสียงที่เกิดขึ้น
ทำนองเพลงขับไม้บัณเฑาะว์มีความสง่างาม เป็นทำนองที่คุ้นหูผู้ฟังโดยทั่วไปนิยมนำไปบรรเลงโดยวงดนตรีประเภทต่างๆตลอดจนใช้ประกอบสื่อสมัยใหม่ สำหรับการบรรเลงซอสามสาย มักนิยมใช้เพลงขับไม้บัณเฑาะว์เป็นเพลงเริ่มต้นการศึกษาเรียนรู้เช่นกัน ด้วยว่ามีแบบแผนคันชักและการประสานเสียงต่างๆที่นำมาพัฒนาสู่การเรียนระดับสูงขึ้นได้ในกาลต่อไป
Salikachomduen สาลิกาชมเดือน (2.41)
The song title means the admiration of Salika bird to the moonlight. This is a showpiece musical counterpart using a contrast in slow-sweet-sadness emotion and in fast-complex-joyful emotion based on the same hidden theme. This special version of Khlui solo was composed by Master Tiep Konglaithong. Much of advance Khlui playing techniques can be observed throughout this short song such as circular breathing, alternative fingerings, twirling grace notes and other ornamentations.
เพลงสาลิกาชมเดือนเป็นเพลงมโหรีปี่พาทย์สำนวนใหม่กว่ากลุ่มมโหรีกรุงศรีอยุธยา ไม่ทราบชื่อผู้ประพันธ์ เป็นเพลงท่อนเดียว อัตราจังหวะหน้าทับปรบไก่ ทำนองที่บรรเลงด้วยขลุ่ยนี้เป็นสำนวนทางเดี่ยวที่เรียบเรียงโดยครูเทียบ คงลายทอง ปรมาจารย์เครื่องเป่าคนสำคัญของกรมศิลปากร โดยแบ่งเป็นทำนองหวานเศร้าช้าโหยหวนในช่วงต้น (เรียกว่าเที่ยวหวาน) และพลิกผันมาเป็นเร็วสนุกใช้วรรคกลอนทำนองเพลงที่สลับซับซ้อนในช่วงหลัง (เรียกว่าเที่ยวเก็บ)
Brahmkhaobot พราหมณ์เข้าโบสถ์ (2.38)
The song title describes Hindu priest (Brahmana) walks into holy shrine. Musical mood hence reveals in peacefulness and meditative ambience. Here the Krajappi lute plays solo part at the first half as question which answered back from the whole orchestra in the second half.
ชื่อเพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์หรือพราหมณ์เดินเข้ายังอุโบสถ ปรากฏในเอกสารเพลงยาวตำรามโหรี โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชำระไว้ในหนังสือประชุมบทมโหรี พ.ศ. ๒๔๖๓ กล่าวว่าเป็นเพลงหนึ่งในเพลงตับสำหรับไหว้ครูข้างเช้า (ซึ่งมีเพลงอื่นรวมอยู่ด้วยอีก ๖ เพลง) มีท่วงทำนองสงบสำรวม ในการบันทึกเสียงครั้งนี้นำกระจับปี่ซึ่งเป็นตัวแทนวงบรรเลงพิณอันเป็นต้นเค้าอีกสายหนึ่งของพัฒนาการมโหรีมาใช้เป็นเสียงเดี่ยวในท่อนต้น บรรเลงรับด้วยวงมโหรีเครื่องสี่ในท่อนกลับ
Monday, July 21, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment