Kratai-ten and Makhayok กระต่ายเต้น-ม้าวิ่ง (2.50)
Two amusing tunes from Likay (folk opera) performance. The first one, Kratai-ten or “the dancing rabbit song”, composed in sequential variations which built upon parallelogram rhythmic fragments, usually used to accompany the entering stage of the leading male character in flirting manner. The later song Mawing or “the running horse song”, created in exciting rhythmic motion, gives a picture of the actor takes horse riding. The orchestra applies two original Myanmar-Mon drums into this CD track – Taphon Mon (a big barrel-shaped bass drum) and Perngmang Khawk (a set of seven drum in semi-circular frame).
เพลงยอดนิยมของการแสดงลิเกในฉากออกตัวของพระเอกหนุ่มขวัญใจแม่ยก และการแสดงขี่ม้าศึกด้วยท่าทางสง่างาม กระต่ายเต้นเป็นผลงานร่วมระหว่างครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในช่วงสองชั้น และครูบุญยงค์ เกตุคง ในช่วงชั้นเดียว ใช้กรอบจังหวะตะโพนมอญและเปิงมางคอกเป็นฐานในการต่อกลอนเพลงเป็นสัมผัสกันไปในแต่ละวรรค ส่วนเพลงม้าวิ่งเป็นเพลงในชุดมอญด้อมค่ายของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีลีลาตื่นเต้นเร้าใจ
Krawnork-Kraw taloong กราวนอก-กราวตะลุง (4.19)
Two successive famous procession opening themes usually played while the assemblages start to take-off from their house to the temple. Exciting drum pattern is called Nathap Kraw, a distinctive marching pattern which well-recognized in both masked dance drama and shadow puppet performances. The orchestra applies two Chinese-Indian derived drums into this CD track – Klong Thad (a pair of big bass drums) and Taphon (a double-headed drum).
สัญลักษณ์ของการเคลื่อนขบวนแห่แหนไทยๆ มักจะขึ้นต้นด้วยเพลงชุดกราวนอก-กราวตะลุงนี้ จังหวะคึกคักชวนให้เดินไป รำไป สร้างความสัมพันธ์สนุกสนานในชุมชนไทยมาเป็นเวลากว่าศตวรรษ ทำนองกราวนอกปรากฏในการแสดงโขนฉากยกทัพฝ่ายพระราม ส่วนกราวตะลุงเป็นเพลงที่ใช้ทั้งเล่นหนังตะลุง โขนสด การละเล่นบ้องตันแทงเสือในขบวนแห่ และการร้องเพลงชุดสิบสองภาษา กลองที่ใช้ในการบรรเลงนี้คือตะโพนและกลองทัด
Tari Kipus ตารีกีปัส (3.32)
Famous dancing song originated from Muslim community of Southern Thailand. The lively rhythmic movement resembles Rebana framed-drum pattern of Malaysian folk culture.
ทำนองเพลงระบำตารีกีปัส นำมาจากการเล่นรำพัดของนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง มีสำเนียงดนตรีมุสลิมที่สนุกสนานรื่นเริง ใช้กลองรำมะนาตีประกอบและมีเสียงลูกซัดแสดงอิทธิพลวันธรรมท้องถิ่น
Kluen kra top fang คลื่นกระทบฝั่ง (2.03)
A delightful parade theme, make a good sense to enjoy dancing rather than simply lifeless walking in the procession lines. The original song came from peaceful Piphat repertoire but dramatically changed into such electrifying feeling by sparkling rhythmic patterns of bass drum and hand cymbals.
เพลงเอกประจำขบวนแห่รื่นเริงในเทศกาลงานบุญงานบวชของไทย ทำนองเดิมของคลื่นกระทบฝั่งเป็นเพลงพิธีกรรมปี่พาทย์และนำไปใช้ในการขับร้องเพลงตับเน้นความเรียบร้อยงดงาม แต่เมื่อมาประสมกับจังหวะกลองฉิ่งฉาบรุกเร้า เล่นด้วยอารมณ์อิสระเสรีแบบพื้นบ้าน ทำให้เพลงนี้เปลี่ยนบุคลิกภาพไปโดยสิ้นเชิง และยังคงยืนยันความสนุกสนานบันเทิงทุกคราวครั้งที่เสียงแตรวงชาวบ้านดังขึ้น
Tra Nimitra ตระนิมิตร (3.23)
Highlight one of the important ritual songs to be performed in Wai Kru ceremony and song for describing magical scene in Khon masked theatre. The harmony arrangement is done by the father of modern Thai Military Band, H.R.H. Prince Paripatra. The song opens with strongly melodic and rhythmic outline and gradually endings with rubato movement.
ตระนิมิตเป็นเพลงหน้าพาทย์สำคัญมาแต่โบราณ ใช้ทั้งในพิธีกรรมไหว้ครูและการแสดงโขนละครในฉากที่เน้นอิทธิฤทธิ์ สื่อความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นศิริมงคล ท้ายเพลงตระนิมิตลงจบด้วยทำนองรัวลาเดียวสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงนำเพลงตระนิมิตนี้มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ ใช้ในการบรรเลงโยธวาทิตเพลงชุดตับพรหมาสตร์พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Lao Duangduern ลาวดวงเดือน (2.01)
An early arrangement by Luang Prasanduriyanga (the student of H.R.H. Prince Paripatra) who was one of pioneers during the golden time of standardize Military band in Thai Royal Army music division. This song evidences one of his innovative ideas by turning famous pentatonic love tune Lao Duang Duern into robustly western-idiom marching song.
หลวงประสานดุริยางค์ (สุทธิ์ ศรีชญา) ศิษย์เอกของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้นำเพลงลาวดวงเดือน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มาเรียบเรียงเสียงประสานเป็นทางโยธวาทิต ใช้จังหวะและสีสันของดนตรีมาร์ชมาตรฐานของตะวันตกมาเป็นหลักในการตีความ ทำให้บุคลิกลักษณะของเพลงมีความน่าสนใจจากทำนองเดิมที่คุ้นเคยกัน ปัจจุบันต้นฉบับเพลงนี้ยังรักษาไว้อย่างดีที่กองดุริยางค์กองทัพบก
Khaek Khao แขกขาวสองชั้น ออกเพลงภารตะ-ปลายซำเซ (6.26)
The title means “white foreigner”, also applied to Islamic people from Middle East who came to Thailand for trading business. The musical setting consists of two continuous parts, medium tempo one for beautifulness and fast one for enjoyment. Klong Khaek, a pair of Indo-Malay derived drums is used for providing freely-improvisation rhythmic patterns..
เพลงชุดแขก นำมาบรรเลงติดต่อกันหลายเพลง เริ่มด้วยทำนองแขกขาวสองชั้นและชั้นเดียวของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ต่อด้วยหางเครื่องเพลงแขกสั้นๆ ภารตะ ปลายซำเซ ของครูบุญยงค์ เกตุคง ทำนองสนุกสนาน ใช้กลองแขกตีคลุกเคล้าเข้ากับลีลาของเพลง
Mon Oy Ing Thao มอญอ้อยอิ่งเถา (7.10)
A funeral theme mixed with special solo part performed by Pi Mon, a lower pitched shawm-oboe. The song is composed by Master Chalerm Buathang in Thao form, a series of triple metrical levels. Interesting to observe how nicely harmonic contrasts when twisting melodic line of Pi Mon meets those straightforward lines of the majority Traewong orchestra throughout the Thao song.
ทำนองโดยครูเฉลิม บัวทั่ง แต่งเป็นเพลงเถา สำเนียงมอญ อารมณ์รักโศกสลด ได้รับความนิยมในการนำไปบรรเลงประกอบบรรยากาศงานศพ ในการบรรเลงครั้งนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ คือได้ทดลองเพิ่มเติมปี่มอญเสียงโหยหวนครวญคร่ำมาสอดแทรกเสียงแตรวงที่คุ้นเคย เกิดมิติอารมณ์และรูปลักษณ์ของแนวการประสานเสียงสอดซ้อนที่แตกต่างออกไป เครื่องจังหวะหน้าทับใช้ตะโพนมอญและเปิงมางคอก
Jeen Khim Lek จีนขิมเล็ก-จีนรัว (2.06)
Old Thai songs by anonymous composed in Chinese accent; with additional Chinese percussions thus create feelings like that of Chinese religious festivals. The last part of the song, a great deal of modulations in exciting rhythm, shows how clever the composer interprets his idea of widening small melodic fragments into larger soundscape.
เพลงสำเนียงจีนเก่าแก่ เดิมใช้ในการเล่นปี่พาทย์พิธีกรรมและปี่พาทย์นางหงส์ ได้นำมาบรรเลงโดยแตรวง ใช้เครื่องภาษาจีนต่างๆประกอบ อาทิ กลองจีน ผ่าง แต๋ว ต๊อก เพลงจีนขิมเล็กเป็นเพลงสั้นๆลักษณะหน้าทับสองไม้ มีสามท่อน ส่วนเพลงจีนรัวเป็นเพลงท่อนเดียว ประพันธ์โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนย้ายหน่วยทำนองตัดกับกระสวนจังหวะอย่างน่าสนใจ
Khamen Cadet เขมรเขด็จ ออกท้ายเพลงลูกหมดเขมร(3.33)
The music title, Cadet, clearly related to the early history of Thailand Military training in old British educational curricula, and also can be related to the primary appearance of brass band in Thai Militarily culture. The song illustrates different colors of instruments in the orchestra alongside with syncopated rhythmic patterns played by a pair of goblet-shaped Thon drums against the small Klong Took drum.
เพลงชุดสำเนียงเขมร เริ่มด้วยเพลงเขมรเขด็จ เดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆสลับกับวง ลงท้ายด้วยเพลงออกลูกหมดเขมร ใช้โทนคู่และกลองตุ๊กตีประกอบ ชื่อเพลงที่เล่นนี้เป็นหลักฐานที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์การพัฒนาวิชาการทหารของไทยในสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์ เขด็จเพี้ยนมาจากคำว่า Cadet ซึ่งหมายถึงนักศึกษาวิชาทหารในระบบการศึกษาอย่างอังกฤษโบราณ
Phama Kwe พม่าเขว ออกหางเครื่องพม่า (3.08)
Trilling beats of gong, crispy sounds of Chab cymbals, and stimulating Klong Yao drum rhythms make this song unbearable to just listen motionless. The main theme is called Phama Kwe, a lively Burmese accent theatre song but better known to the Thai audiences by its newer famous song title Chang - the happy elephant. Enjoy!
เพลงพม่าเขวและหางเครื่องพม่า บรรเลงด้วยแตรวง ผสมผสานเครื่องจังหวะต่างๆ ได้แก่ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ทำนองสนุกตื่นเต้นโลดโผน ชวนให้ร่ายรำ
Monday, July 21, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment