Monday, July 21, 2008

About Mahori Boraan



Mahoree Boraan: Ancient chamber music from the royal court of Thailand

Sweetly blending sounds, romantic musical atmosphere, lovely poetic singing, and attractive setting of gentle musical instruments altogether intermingle in Mahoree chamber orchestra of Siamese royal court entertainment.

The ensemble consists of long necked double-strings lute, Krajappi, three-stringed spike fiddle, Saw Samsai, bamboo flute, Khlui, glittering glass xylophone, Ranat Kaew, rhythmic percussions - a pair of footed-drum and frame-drum Thon-Rammana, Ching a pair of hand cymbals and Krabphuang a set of wooden clappers. Those instruments could be traced back to the intercultural contact of Buddhist Hindu and Islamic origins.

The name Mahoree has been mentioned in early Siamese literature since the 17th century and also coinciding with similar string-wind-percussion orchestra of Cambodia. In the past, Mahoree musicians were mostly young good-looking ladies playing nighttime music to their ensemble patrons – ranging from the King, Princes, to wealthy noblemen. The passionate Mahoree music exhibits best refinement artworks co-created by court poet and noble composers.

In the modern Thai society, Mahoree still plays its significant role in noble-home entertainment and much employed as wedding ceremony accompaniment.

This CD presents the original performance style and original sounding image of traditional Mahoree orchestra from early Rattanakosin period (18th century). It has been well preserved by the new generation of Thai musicians who continue their deep understandings from their earlier masters. The repertoires selected from those love song pieces have been long admired among Mahoree lovers.

เกี่ยวกับมโหรีโบราณ
มโหรีเป็นการประสมวงดนตรีที่ผ่านพัฒนาการมาในราชสำนักของกรุงสยามเป็นระยะเวลายาวนาน ต้นแบบของวงมโหรีเกิดจากการนำวงดนตรีขับไม้ในพิธีกรรมทางพราหมณ์ของหลวงและวงบรรเลงพิณประกอบการขับลำเล่าเรื่องของเดิมมารวมตัวกันใหม่ และจัดสรรบทบาทหน้าที่ตลอดจนสุ้มเสียงของเครื่องดนตรีใหม่จนกลายเป็นวงมโหรี เน้นความไพเราะสดใส นุ่มนวล อ่อนหวาน มากกว่าเสียงแห่งพลังอำนาจในดนตรีพิธีกรรมแต่เดิม นิยมใช้สุภาพสตรีเป็นนักดนตรี นักร้อง มีหน้าที่ขับกล่อมสร้างความบันเทิง บรรเลงขับลำนำบำเรอถวายในเขตพระราชฐานหรือตามบ้านเรือนของผู้มีบรรดาศักดิ์ที่มีบริวารเป็นสตรี นักมโหรีนอกจากจะมีหน้าที่ขับร้องบรรเลงเพลงมโหรีแล้วยังนิยมเล่นดอกสร้อยสักวาในเวลางานนักขัตฤกษ์
บทขับร้องมโหรีเป็นบทกาพย์กลอนเล่าเรื่อง มุ่งสร้างความเพลิดเพลินในการฟังมากกว่าคำสวดหรือคำร้องประเภทฉันท์ที่เคยใช้ในวงขับไม้ของเดิม อาจแต่งคำร้องเป็นบทย่อยๆโดยเฉพาะเพลง นำมาบรรเลงขับร้องเป็นเอกเทศ เรียกว่า “เพลงเกร็ด” หรือคิดแต่งวรรณคดีเป็นคำกลอนทั้งเรื่องหรือทั้งตอน แล้วบรรจุทำนองเพลงมโหรีเข้าไปให้เหมาะสม นำมาขับร้องบรรเลงติดต่อกันไป ฟังแล้วเกิดความต่อเนื่องของเนื้อหาเรื่องราว เรียกว่า “เพลงตับ” บทมโหรีที่นิยมขับร้องกัน เช่น บทมโหรีเรื่องพระรถเสนซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชำระจากความทรงจำของนางชิน คนครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นอาของเจ้าจอมมารดากรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา, บทมโหรีเรื่องกากีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ครั้งรัชกาลที่ ๑, บทมโหรีเรื่องอิเหนาของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) เมืองราชบุรี, บทมโหรีเรื่องรามเกียรติ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, บทมโหรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์, บทมโหรีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทมโหรีเหล่านี้เป็นงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทั้งในเชิงศิลปะและประวัติศาสตร์

วัฒนธรรมมโหรีเคยเป็นที่นิยมมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนกระทั่งก้าวล่วงสู่กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและมาเสื่อมซาลงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบของวงมโหรีที่ปรากฏในงานวรรณกรรมและจิตรกรรมของอดีตมักจะเป็นภาพสตรีผู้บรรเลงซอสามสาย กระจับปี่ โทน-รำมะนา ขลุ่ย ขับร้องและตีกรับพวง กระทั่งเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีให้หลากหลายออกไป นำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง เช่น ระนาด ฆ้องวง เข้ามาประสม และนำเครื่องสายพื้นบ้านคือ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวง
ในกระบวนวงดนตรีไทยแบบแผนที่รู้จักกันในปัจจุบัน มโหรีถือเป็นวงดนตรีที่มีสีสันของเสียงสลับซับซ้อนมากที่สุด มีช่วงกว้างของเสียงมาก เพราะเป็นการรวบรวมเครื่องดนตรีทุกประเภททั้งดีดสีตีเป่ามารวมเข้าไว้ด้วยกัน ต้องใช้วิชาความรู้ขั้นสูงในการถ่ายทอดเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะเกิดความงามสมบูรณ์
บทบาทของมโหรีในปัจจุบันคือการละเล่นเพื่อความบันเทิง ผู้สนใจสามารถหาชมหาฟังได้จากงานมงคลสมรส หรือการแสดงดนตรีโดยทั่วไป
งานบันทึกเสียงครั้งนี้เป็นการย้อนรอยนำเครื่องดนตรีที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์พัฒนาการของมโหรีโบราณมาบันทึกเสียงใหม่ ใช้บทเพลงสมัยกรุงเก่าและต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นหลัก แนวทางของการบรรเลงและขับร้องพยายามรักษารูปแบบราชสำนักเอาไว้ โดยได้รับความกรุณาถ่ายทอดความรู้จากคุณครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ เป็นต้นแบบการขับร้องและบรรเลง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดแก้ว โทน-รำมะนา ฉิ่ง และกรับพวง

No comments: